Precision Health Co., Ltd.
ไขมันตัวร้าย ไขมันตัวดี
โพสต์ก่อนนี้ ได้มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม (Familial Hypercholesterolemia: FH) ถ้าเพื่อนๆยังพอจำกันได้ ก็จะรู้ว่า ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมจะนี้ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลว LDL-C (ไขมันตัวร้าย) สูงแต่เกิด จึงส่งผลให้ค่า Total Cholesterol สูงตามไปด้วย
แล้วอะไรคือ คอเลสเตอรอลชนิดเลว LDL-C (ไขมันตัวร้าย) กันละ ?
วันนี้จึงขอมานำเสนอหัวข้อ อะไรคือ ไขมันตัวร้าย ไขมันตัวดี ให้เพื่อนๆได้ฟังกันค่า
โดยปกติ ร่างกายจะมีไขมันประเภทหลักๆอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol) แบ่งเป็น 2 ชนิด
- ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL-C) หรือไขมันตัวร้าย เป็นไขมันที่อันตราย สามารถสะสมในผนังหลอดเลือดได้ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตันและตีบแข็ง ตัวอย่างอาหารที่มีไขมันตัวร้าย เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ของทอด อาหารที่กะทิเป็นส่วนผสมหลัก เป็นต้น
- ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL-C) หรือไขมันตัวดี สามารถช่วยนำไขมันตัวร้ายออกจากกระแสเลือด และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของหลอดเลือดอีกด้วย ตัวอย่างอาหารที่มีไขมันตัวดี เช่น ปลาแซลมอน ธัญพืชไม่ขัดสี อะโวคาโด เป็นต้น
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) คือไขมันซึ่งร่างกายได้รับจากอาหารโดยตรงหรือร่างกายสร้างขึ้นเมื่อรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป โดยพลังงานส่วนเกินจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และสะสมเป็นเนื้อเยื่อไขมันตามส่วนต่าง ๆ
- สาเหตุที่ทำให้ค่าไตรกลีเซอไรด์สูง ได้แก่ รับประทานอาาหารจำพวกแป้ง-น้ำตาลมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก ขาดการออกกำลังกาย โรคอ้วน โรคไทรอยด์ทำงานน้อย โรคตับ โรคไต โรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ เอสโตรเจน ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
อย่างไรก็ตามไขมันก็มีประโยชน์ในการช่วยดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุ ดังนั้นควรบริโภคอาหารที่มาจากไขมันดี ลดปริมาณอาหารที่มีไขมันเลว และหมั่นออกกำลังกาย จะช่วยให้ร่างกายมีปริมาณไขมัน HDL สูง ป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด
ทั้งนี้การตรวจไขมันในเลือด หรือ การตรวจ Lipid Profile เป็นประจำทุกปี ช่วยให้เราทราบว่าเรามีระดับไขมันแต่ละชนิดในเลือดมากน้อยแค่ไหน เพื่อการวางแผนดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนจากภาวะไขมันในเลือดสูง
อ่านบทความที่คุณสนใจได้ที่ https://www.precisionhealth.co.th/blog